วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Modernism & Post-modernism

Modernism and Post-modernism



Post modernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Post modern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน

แต่..แม้ในความเป็น post modernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Post modernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ

อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ post modernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ post modernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็น post modernism ในเวลาเดียวกัน




Modernism Vs. Post-Modernism Lecture Notes by Jade Maxwell

อ้างอิงจาก http://pioneer.chula.ac.th/~yongyudh/papers/postmodern.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น